6/23/2552

ความรู้ทั่วไปแตกต่างจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างไร


ความรู้ทั่วไป (มาจากหลายแนวคิด รวบรวมจากหลายแห่งที่ใคร ๆ ก็เขียนบอกกัน)

ความรู้ คือ แสงประทีปแห่งปัญญา
ความรู้ คือทุกอย่าง
ความรู้ คืออำนาจ
ความรู้ คือ กุญแจสู่อนาคตที่ดี
ความรู้ คือ ความจริง ที่มีอยู่รอบๆตัวเรา ซึ่งยังคงรอการค้นพบ และพิสูจน์ จากพวกเราทุกคน
ความรู้ คือ ความไม่รู้ เพราะไม่รู้ จึงพยายามจะรู้ เมื่อรู้ ก็จะรู้ว่าแท้จริงแล้วเราไม่ได้รู้อะไรเลย
จึงต้องพยายามหาความรู้ต่อไป เพื่อจะได้รู้
ความรู้ คือ สิ่งที่สะสมมาจากประสบการณ์ เป็นผลลัพธ์ที่ได้มาจากการ ฟัง พูด อ่าน เขียน คิด..
ความรู้ คือ อะไรไม่สำคัญ เท่าความรู้ที่ทำให้คุณอิ่มปากอิ่มท้องอย่างไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น
ความรู้ คือ เรื่องที่เราเพิ่งรู้
ความรู้ คือ ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เรารู้ไม่จำเป็นต้องถูกหรือผิด
ความรู้ คือ ข้อมูลสารสนเทศผสมผสานกับประสบการณ์ ความรอบรู้ในบริบท การแปลความหมายและการแสดงความคิดเห็น

ความรู้ แยกเป็น 2 ประเภท
1. ความรู้ที่ปรากฎชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถเขียนหรืออธิบายออกมาเป็นตัวอักษร ฟังก์ชั่นหรือสมการได้ (อยู่ในตำรา เอกสาร วารสาร คู่มือ คำอธิบาย วีซีดี คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ฐานข้อมูล)
2. ความรู้ที่ไม่ปรากฎชัดแจ้ง (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถเขียนหรืออธิบาย
ได้ การถ่ายโอนความรู้ประเภทนี้ทำได้ยาก จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้จากการกระทำ ฝึกฝน (อยู่ในสมองคน เชื่อมโยงกับประสบการณ์ ความเชื่อ ค่านิยม ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ทั้งหมด)
* แต่ยังมีความรู้อีกประเภทหนึ่งที่สำคัญ เรียกว่าความรู้ประเภทที่ 3 เป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในวิธีปฏิบัติงาน วัฒนธรรม ข้อตกลง กฎกติกา คู่มือ ขององค์กรฝังอยู่ในผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต
ความรู้สำคัญอย่างไร
1. ความรู้ทำให้คนเรามีค่ามากขึ้น
2. ความรู้ทำให้สินค้ามีค่ามากขึ้น
3. ความรู้ทำให้บริการมีค่ามากขึ้น
4. ความรู้ทำให้คนเราเปลี่ยนพฤติกรรม
5. ความรู้ทำให้คนเราทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อนได้
6. ความรู้ทำให้คนเรามีมุมมองใหม่
สำหรับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนมีระเบียบแบบแผน
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ต้องประกอบด้วย ความรู้ หรือความรู้ทั่วไปและกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ ซึ่งกระบวนการนี้คือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Process of Science) เป็นกระบวนการที่ใช้ค้นคว้าหาองค์ความรู้ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากความคิดและความเชื่อทางปรัชญา ความคิด ความเชื่อ และปัญหาทางปรัชญาต่าง ๆ ที่สืบทอดกันมายังไม่ได้รับการทดลอง ทดสอบ แก้ปัญหา ยังไม่มีการยืนยันว่าเป็นข้อเท็จจริงตลอดทั้งความขัดแย้งระหว่างความคิดเก่ากับหลักฐานที่พบใหม่ต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นแหล่งสร้างความสนใจ และสร้างปัญหาขึ้นในจิตใจของผู้ใฝ่หาข้อเท็จจริงในธรรมชาติ ผลงานของผู้สนใจเหล่านี้ได้ค่อย ๆ เปลี่ยนลักษณะความคิด ความเชื่อ ที่ลึกลับซับซ้อน เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนทั้งหลาย มาเป็นระบบความรู้ทางวิทยาศาสตร์จากความคิด ความเชื่อ และปัญหาทางปรัชญาของคนรุ่นก่อน ๆ
วิทยาศาสตร์ (Sciences) คือ ความรู้ที่มนุษย์ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติโดยการใช้วิธีอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนผ่านการสังเกตทดลองอย่างเป็นรูปธรรมเป็นความรู้ที่คาดการณ์อนาคตได้อย่างแม่นยำและเมื่อนำไปจัดการกับวัตถุสิ่งของเรื่องทางกายภาพแล้วมีประสิทธิภาพเป็นความรู้สากลเพราะสามารถพิสูจน์ได้และเป็นเครื่องมือของมนุษย์ในการศึกษาเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับปรากฏการธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ซึ่งแสดงให้เห็นศักยภาพของมนุษย์และกลายเป็นเทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้ตั้งอยู่บนเหตุผลสามารถพิสูจน์ได้
วิทยาศาสตร์ คือ ความรู้ที่แน่นอน รัดกุม และเป็นระบบระเบียบมีหน้าที่ในการบรรยายข้อมูลของประสบการณ์อย่างสมบูรณ์และกลมกลืนกันด้วยถ้อยคำที่ง่ายที่สุด
จะอย่างไร ปัจจุบันความรู้แบบวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีเพียงความรู้ในรูปที่เป็นกฎเท่านั้น หากแต่ยังมีความรู้ส่วนที่มีลักษณะเป็นการคาดคะเนธรรมชาติที่เรียกว่าทฤษฎีด้วย นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเริ่มรู้สึกว่าการที่นักวิทยาศาสตร์เริ่มที่จะใช้การคาดคะเนมากยิ่งขึ้นในงานทางวิทยาศาสตร์นั้นจะเป็นการย้อนกลับไปหาสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์รุ่นแรกๆเช่นกาลิเลโอหรือแม้แต่นิวตันได้พยายามที่จะหลีกเลี่ยง เพราะไม่เช่นนั้นกิจกรรมที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์จะไม่สามารถก่อกำเนิดได้ วิชาปรัชญานั้นใช้จินตนาการ เหตุผล และการคาดคะเนเพื่อแสวงหาความรู้ วิทยาศาสตร์ต่างจากปรัชญาตรงที่วิทยาศาสตร์ใช้ประสาทสัมผัสเป็นแหล่งอ้างอิงหลักของความรู้ เมื่อใดก็ตามที่วิทยาศาสตร์ใช้อะไรเกินไปกว่านั้น เมื่อนั้นวิทยาศาสตร์จะค่อยๆสูญเสียลักษณะเฉพาะของตนเอง
วิทยาศาสตร์ในความหมายของการแสวงหาความรู้ที่อิงกับประสบการณ์
ความรู้ในวิทยาศาสตร์อาจสรุปได้ ๓ ลักษณะ
๑. ความรู้ในวิทยาศาสตร์ได้จากประสบการณ์และการทดสอบด้วยประสบการณ์ เพราะวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการความรู้ทางอุปมัย (Induction) โดยอาศัยอายตนะสัมผัส คือตา หู จมูก ลิ้น กายความเชื่ออะไรก็ตามที่ไม่อาจจะรู้จักได้ด้วยประสาทสัมผัสเหล่านี้ถือว่าอยู่นอกเขตของวิทยาศาสตร์
๒. ความรู้ในวิทยาศาสตร์เป็นสาธารณะและสากลกล่าวคือเมื่อเราพบข้อเท็จจริงอันหนึ่งแล้วเราย่อมสามารถอธิบายให้คนอื่นฟังได้รวมทั้งสามารถแสดงหรือทดลองให้คนอื่นเห็นได้ความรู้อย่างนี้เป็นสาธารณะ ดังนั้น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์จึงสามารถอธิบายให้คนอื่นที่อยู่ในเงื่อนไขเดียวกันเข้าใจได้และมีลักษณะสากล เช่น ความรู้ว่า “วัตถุทุกอันมีความหนาแน่นกว่าอากาศย่อมตกลงสู่พื้นเพราะแรงดึงดูดของโลก” ซึ่งเป็นการรวมถึงทุกสิ่งที่หนักกว่าอากาศเหล็กก็เป็นสิ่งหนึ่งในบรรดาสิ่งเหล่านั้น
๓. ความรู้ในวิทยาศาสตร์มีลักษณะเป็นเงื่อนไขสามารถคาดหมายอนาคตได้ คือ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะสลับซับซ้อนอย่างไร แค่ไหนก็มีหลักฐานอยู่ว่า “สิ่งๆนี้ถ้าอยู่ภายใต้เงื่อนไขนั้น อะไรจะเกิดขึ้นกับมัน” เพราะวิธีอุปนัยเป็นวิธีการก้าวกระโดดจากบางสิ่งไปสู่ทุกสิ่งและเป็นการกระโดดจากอดีตไปสู่อนาคตและเพราะหลักฐานที่เราได้จากประสบการณ์ในอดีตทำให้เราสรุปได้ว่าในอนาคตมันจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้

ความรู้ในทางวิทยศาสตร์นอกจากจะใช้ในการควบคุมดูแลสร้างสรรค์สิ่งที่เรียกธรรมชาติรอบตัวมนุษย์แล้วนำมา “ จัดการ” กับความสัมพันธ์ของคนที่มีต่อกันในสังคมในฐานะที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมรวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นชุมชน พฤติกรรมในแง่มุมต่างๆ เช่น การผลิต การแลกเปลี่ยน ที่เรียกว่าเชิงเศรษฐกิจ ด้านความมีระเบียบวินัยที่เรียกว่า นิติศาสตร์ ด้านบริหารว่าทำอย่างไรสังคมจึงหมุนไปสู่อุดมคติอย่างกลมกลืน และปลอดภัยทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ ด้านการศึกษา อบรม การถ่ายทอด และด้านสุขอนามัย เป็นต้น ยิ่งนับว่าจะทวีคูณความสลับซับซ้อนทับถมมนุษย์ไม่สามารถจะเข้าใจพฤติกรรม หรือแง่มุมเหล่านั้นได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์จำเป็นต้องอาศัยวิธีการวิทยศาสตร์เป็นเครื่อง “กรอบ” แยกแยะให้มนุษย์รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเองและสังคม

อ้างอิง
http://www1.mod.go.th/opsd/km/inf/know.html
http://sanookpradesh.wordpress.com
http://www.mcusurat.org/class%203/budhismandsciene.doc

ไม่มีความคิดเห็น: