6/27/2552

วิลเลียม เจมส์ : นักคิดแห่ง ทฤษฎี ปฏิบัตินิยม



"อย่าหวาดกลัวชีวิต จงเชื่อมั่นว่า ชีวิตมีค่าควรแก่การดำรงอยู่แล้ว ความเชื่อของคุณ จะช่วยให้เป็นจริงตามนั้น"

เมื่อมนุษย์พยายามหาสิ่งอื่นทดแทนสิ่งเหนือธรรมชาติ จึงเกิดความขัดแย้งในทางความคิด


ซึ่ง ณ จุดนี้เองทำให้ความคิดแบบวิทยาศาสตร์เริ่มเจริญขึ้น ความคิดแบบเทวนิยมค่อย ๆ เสื่อมลง


จอห์น ดิวอี้ เชื่อว่า สิ่งเดียวที่มนุษย์สามารถทำได้คือ การเผชิญหน้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ


และใช้สติปัญญาของตนจัดการ แกไขสถานการณ์นั้น เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นมา


ขณะเดียวกันเราไม่สามารถคาดหมายหรือทำนายว่าความสำเร็จในอนาคตนั้นจำเป็นต้องเกิดขึ้น


วิลเลียม เจมส์ เชื่อว่า ความคิดทั้งหลายทางปรัชญาสามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่ให้ผลได้จริงในประสบการณ์ของเราในอนาคต


คำว่า “เชิงปฏิบัติ (Pratical)” เขาหมายถึงสิ่งที่จับต้องได้ มีลักษณะเป็นสิ่งเฉพาะ และมีผลตามต้องการ


จึงตรงข้ามกับสิ่งที่เป็นนามธรรม มีลักษณะทั่วไปและไม่ก่อผล



“ทัศนะของเจมส์” ปรัชญามีหน้าที่ของตนเอง คือ การหาทางที่จะทำให้ความคิดของคนเราไป ด้วยกันได้


ไม่ยึดมั่นในระบบใดระบบหนึ่งอย่างตายตัว



ดังนั้นเราจึงมีทางเลือกเสมอไม่ว่าจะใช้ทฤษฏีใด
นอกจากนี้เขายังเชื่อว่า
ปฏิบัตินิยมเป็นวิธีที่ทำให้ความคิดแจ่มแจ้ง ซึ่งจะทำให้เราสามารถกำหนดรู้ ความหมายของความคิดนั้นได้



โดยการทดลองนำความคิดนั้นมาปฏิบัติ และดูผลที่ เกิดขึ้นเป็นหลักสำคัญ


ปฏิบัตินิยม คล้ายกับ ประสบการณ์นิยม คือ สนใจสิ่งที่ทดสอบได้ด้วยประสาทสัมผัส


เน้นเรื่องข้อเท็จจริง มุ่งไปที่การกระทำ


เปลี่ยนแปลงทัศนคติบางอย่างของปรัชญา คือ
ลดความเป็นนักเหตุผลนิยมที่รุนแรงลง


วิทยาศาสตร์และอภิปรัชญาเข้าใกล้กันมากขึ้น


ทฤษฏีต่าง ๆ ที่อธิบายโลกและจักรวาลถูกนำมาใช้
ไม่หยุดที่ทฤษฏีใดทฤษฏีหนึ่ง

ให้ทฤษฏีทั้งหลายเป็นเครื่องมือเพื่อทำให้เข้าใจโลกธรรมชาติ

การนำปฏิบัตินิยมไปแก้ปัญหา
1. มีกระบวนการพิสูจน์ ความจริง พิสูจน์ให้เห็นจริง สามารถอธิบายได้ และก่อให้เกิดผลหรือ ประโยชน์ในประสบการณ์ของเรา



2. มีกระบวนการนำทาง ความคิดที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์แล้ว จะต้องสามารถเชื่อมโยงไปอธิบายเรื่องอื่นได้

ความรุ้ทางวิทยาศาสตร์เมื่อผ่านการพิสูจน์(ทดลอง)แล้ว สามารถใช้อธิบายเรื่องราว
หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ ได้

ปฏิบัตินิยม หากเชื่อแล้ว ปรากฏว่ามีหลักฐานใหม่ หรือข้อพิสูจน์ใหม่

ความเชื่อเหล่านั้นก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้

วามรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็เช่นกัน หากมีการค้นพ้นหลักฐาน หรือข้อพิสูจน์ใหม่ ๆ ความรู้นั้น ๆ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เหมือนกัน เช่น เมื่อก่อนเราเชื่อว่าโลกแบน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็มีการนำเสนอหลักฐานการค้นพบใหม่ ๆ ทำให้ความคิดที่ว่าโลกแบน เวลาเดินตรงไปเรื่อย ๆ อาจจะตกขอบโลก ถูกแทนที่ด้วยความรู้ใหม่ทีว่า โลกกลม

เจมส์ มองโลกแบบพหุนิยม แต่ก็สามารถมองโลกในแง่ของความเป็นหนึ่งแบบปฏิบัตินิยม

ความเชื่อ ความศรัทธา ทางศาสนา ก็ถือเป็นวิทยาศาสตร์ คือมีการตั้งสมมุติฐาน แต่สมมุติฐานในการศรัทธาสิ่งใดนั้น ต้องอาศัยการทดลองเป็นระยะเวลานาน ไม่สามารถอ้างเหตุผลทางตรรกะมาพิสูจน์ความจริงในศาสนาได้


เจมส์ ยังคงยืนยันว่า ความหมายของ ความคิด ได้รับการค้นพบเพียง ในภาคของบทสรุปที่ เป็นไปได้เท่านั้น หากบทสรุปไม่เพียงพอ ความคิด ก็ไร้ความหมาย เจมส์ยืนยันว่า สิ่งนั้น เป็นวิธีที่ นักวิทยาศาสตร์ ใช้ในการนิยามหัวข้อ และ เพื่อทดสอบ สมมติฐานของ พวกเขา ซึ่ง อาจจะเป็น คำทำนาย ที่มีความหมาย และ ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้

เจมส์เชื่อในหลักปฏิบิตนิยมมากกว่า แต่เขาก็กล่าวว่า หลักการแบบปฏิบัตินิยมจะไม่สามารถปฏิเสธสมมุติฐานใด ๆ ได้


ถ้าผลที่เกิดจากสมมุติฐานนั้น มีประโยชน์ที่จะทำให้ชีวิตดำเนินอยู่ต่อได้


แหล่งข้อมูล http:// http://www.infoplease.com/

ไม่มีความคิดเห็น: