6/24/2552

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ VS ความรู้ทั่วไป


ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ VS ความรู้ทั่วไป

ตั้งหัวข้อซะน่ากลัว ..แต่จริง ๆ แล้วข้าพเจ้าแค่ต้องการนำเสนอความแตกต่างของความรู้ทั่วไป และความรู้ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น


เ บนจามิน บลูม (Benjamin S. Bloom ) ได้ให้ความหมายของ ความรู้ ว่าหมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการระลึกถึงสิ่งเฉพาะ วิธีการและกระบวนการต่าง ๆ รวมถึงแบบกระสวนของโครงการวัตถุประสงค์ในด้านความรู้ โดยเน้นในเรื่องของกระบวนการทางจิตวิทยาของความจำ อันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับการจัดระเบียบ

ประภาเพ็ญ สุวรรณ ได้ให้คำอธิบายว่า ความรู้ เป็นพฤติกรรมขั้นต้นที่ผู้เรียนรู้เพียงแต่เกิดความจำได้ โดยอาจจะเป็นการนึกได้หรือโดยการมองเห็น ได้ยิน จำได้ ความรู้ในชั้นนี้ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับคำจำกัดความ ความหมาย ข้อเท็จจริง กฎเกณฑ์ โครงสร้างและวิธีแก้ไขปัญหา ส่วนความเข้าใจอาจแสดงออกมาในรูปของทักษะด้าน “การแปล” ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการเขียนบรรยายเกี่ยวกับข่าวสารนั้น ๆ โดยใช้คำพูดของตนเอง และ “การให้ความหมาย” ที่แสดงออกมาในรูปของความคิดเห็นและข้อสรุป รวมถึงความสามารถในการ “คาดคะเน” หรือการคาดหมายว่าจะเกิดอะไรขึ้น


สำหรับตัวข้าพเจ้าเองเชื่อว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ทุกคนมี ทุกคนรู้ และจะต้องรู้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นตื่นเช้ามา เราต้องล้างหน้า แปลงฟัน เพราะเรามีความรู้ เรารุ้ว่า ต้องมีการกำจัดเชื้อแบคทีเรียในปาก ต้องอาบน้ำเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก
หากเราไม่มีความรู้ หรือไม่รู้อะไรเลย คงเป็นการยากที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมนี้ได้ เพราะความไม่รู้ จะทำให้เราไม่สามารถทำอะไรได้เลย


ความรู้ทั่ว ๆ ไป เป็นสิ่งที่เราต้องรู้โดยอาศัยการเรียนรู้ผ่าน กิจวัตรในชีวิตประจำวัน เป็นการลองผิดลองถูกประเภทหนึ่ง เช่นถ้าเราไม่ทำเช่นนั้น ก็จะไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม ไม่สามารถที่จะไปพูดคุยกับใครได้

............................

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากความสงสัย มนุษย์มองธรรมชาติ แล้วเกิดความสงสัย ต้องการที่จะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านั้น จึงมีการศึกษา ค้นคว้า โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การค้นพบความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (ซึ่งก็คือการเรียนรู้ และเข้าใจธรรมชาติ) ทำให้ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่างของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ทำให้เราเห็นได้ว่าชีวิตเราเปลี่ยนแปลงจริง ๆ เช่น

1. กฎการตกของวัตถุ (The Law of Falling Bodies) ค้นพบในปี 1604 กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) นักวิทยาศาสตร์ผู้หาญกล้าล้มแนวคิดของอริสโตเติล (Aristotel) ที่ผู้คนเชื่อถือมากว่า 2,000 ปี ว่าวัตถุที่หนักกว่าจะตกถึงพื้นได้เร็วกว่าวัตถุที่เบากว่า โดยเขาได้ทำการพิสูจน์ว่าวัตถุต่างๆ แม้จะมีน้ำหนักไม่เท่ากันแต่จะตกถึงพื้นพร้อมกัน




2. สมการ E=mc2 ค้นพบในปี 1905 หรือกล่าวได้ว่าพลังงานเท่ากับความเร็วแสงยกกำลังสองที่ทวีคูณด้วยน้ำหนักของวัตถุเอง โดยสมการอันโด่งดังของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์นี้พิสูจน์ว่ามวลและพลังงานเป็นสิ่งที่แตกต่างอย่างชัดแจ้งในวัตถุเดียวกัน และมวลเล็กๆ สามารถผันกลับเป็นพลังงานปริมาณมหาศาลได้ หนึ่งในความหมายอันลึกซึ้งของสิ่งที่ไอน์สไตน์ค้นพบคือไม่มีมวลใดที่จะมีความเร็วเหนือแสง





แต่ก็ยังมีความรู้อีกอย่างหนึ่ง ที่ข้าพเจ้าคิดว่าทุกคนจะต้องมี และต้องศึกษา นั่นก็คือ ความรู้ทางธรรม
เมื่อเราลองมองย้อนกลับมาดูสภาพสังคมในปัจจุบัน เราจะพบว่าเยาวชนบางคนกำลังแสวงแต่ความรู้ทางโลกเพียงอย่างเดียว โดยไม่เห็นความสำคัญของการแสวงหาความรู้ทางด้านศาสนาเลย พวกเราสนใจแค่การใช้ชีวิตอยู่ไปวัน ๆ แต่พวกเราลืมไปว่าเสบียงที่จะทำให้เรามีความสุขจริง ๆ นั้น คือ ความรู้ทางธรรม และการเข้าใจชีวิต


ดังนั้นการแสวงหาความรู้ในทุก ๆ ด้าน จึงมีความจำเป็นมาก ความรู้ทางโลก ซึ่งก็คือความรู้ทั่วไปและความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นสามารถทำให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตได้ และหนทางที่จะทำให้การแสวงหาความรู้นั้นประสบกับผลสำเร็จได้นั้นก็คือ การแสวงหาความรู้ทั้งทางด้านศาสนาและสามัญควบคู่กันไป โดยไม่ละทิ้งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
......................................................................................................................................





แหล่งความรู้เพิ่มเติม





ไม่มีความคิดเห็น: